ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบ CCTV

ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบ CCTV



ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หรือระบบกล้องวงจรปิด หรือระบบ CCTV เหมาะสำหรับงานรักษาความปลอดภัย ตรวจการณ์เฝ้าระวังภัย หรือสอดส่องดูแลด้วยภาพทั่วๆไป พื้นฐานของระบบประกอบด้วย ส่วนรับภาพ ส่วนจัดการภาพ และส่วนของสื่อนำสัญญาณ แสดงดังรูป
1.ส่วนรับภาพ(กล้อง)
1.1 ชุดกล้องมาตรฐาน ประกอบด้วย กล้อง + เลนส์(Lens) + ขายึดกล้อง(Bracket) และถ้าใช้ในพื้นที่ๆมีฝุ่น หรือฝนสาดโดน หรือภายนอกอาคาร จะต้องใช้กล่องหุ้มกล้อง(housing) ร่วมด้วย กล้องจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันในแต่ละรุ่นโดยปกติจะมีสิ่งที่คำนึงดังต่อไปนี้
  • ชนิดและขนาดของ แผ่นรับภาพ ปกติจะมี 1/2",1/3" ,1/4" แบบ CCD และแบบ CMOS โดย 1/2"ภาพจะใหญ่กว่า 1/3" และ 1/4" และ CCD ปัจจุบันจะมีคุณภาพดีกว่า CMOS
  • ความละเอียดของภาพจะเป็นตัวชี้วัดถึงความคมชัดของกล้อง โดยปกติจะมีค่ามาตรฐานคือ Standard Resolution 330TVL และ Hi-Resolution 480TVL ,540TVL ยิ่งมากยิ่งดี
  • ความไวแสงหมายถึงค่าของแสงที่กล้องสามารถทำงานได้และสามารถมองเห็นภาพได้ ยิ่งค่าน้อยยิ่งถือว่ากล้องตัวนั้นสามารถมองเห็นในที่มีแสงน้อยๆได้ดี และกล้องบางรุ่นอาจทำงานได้ทั้งในแบบของสีและขาวดำ(กลงวัน/กลางคืน)ให้ภาพคมชัดขึ้นเมื่อมีแสงน้อย
  • คุณสมบัติอื่นๆประกอบ เช่น มีวงจรชดเชยแสงอัตโนมัติ (Back Light Compensation) วงจรปรับชดเชยสีอัตโนมัติ (Auto White Balance) วงจรชดเชยสัญญาณควบคุมอัตโนมัติ(Auto Gain Control)
  • เลนส์จะมีหลายแบบเช่น Mono Focal Fixed iris จะไม่สามารถปรับมุมกว้าง-แคบ ของภาพและม่านแสงได้เหมาะสำหรับพื้นที่ๆไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงของแสง , แบบ Auto Iris จะใช้ในพื้นที่ๆแสงมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เป็นต้น
ชุดกล้องทรงมาฐานเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้เห็นตัวกล้อง หรือต้องการติดภายนอกอาคาร หรือต้องการใช้เลนส์ Zoom และหากใช้Out door จะต้องมีชุดหุ้มกล้องเพิ่ม
1.ส่วนรับภาพ(กล้อง)
1.1 ชุดกล้องมาตรฐาน ประกอบด้วย กล้อง + เลนส์(Lens) + ขายึดกล้อง(Bracket) และถ้าใช้ในพื้นที่ๆมีฝุ่น หรือฝนสาดโดน หรือภายนอกอาคาร จะต้องใช้กล่องหุ้มกล้อง(housing) ร่วมด้วย กล้องจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันในแต่ละรุ่นโดยปกติจะมีสิ่งที่คำนึงดังต่อไปนี้
  • ชนิดและขนาดของ แผ่นรับภาพ ปกติจะมี 1/2",1/3" ,1/4" แบบ CCD และแบบ CMOS โดย1/2" ภาพจะใหญ่กว่า 1/3" และ 1/4" และ CCD ปัจจุบันจะมีคุณภาพดีกว่า CMOS
  • ความละเอียดของภาพจะเป็นตัวชี้วัดถึงความคมชัดของกล้อง โดยปกติจะมีค่ามาตรฐานคือ Standard Resolution 330TVL และ Hi-Resolution 480TVL ,540TVL ยิ่งมากยิ่งดี
  • ความไวแสงหมายถึงค่าของแสงที่กล้องสามารถทำงานได้และสามารถมองเห็นภาพได้ ยิ่งค่าน้อยยิ่งถือว่ากล้องตัวนั้นสามารถมองเห็นในที่มีแสงน้อยๆได้ดี และกล้องบางรุ่นอาจทำงานได้ทั้งในแบบของสีและขาวดำ(กลงวัน/กลางคืน)ให้ภาพคมชัดขึ้นเมื่อมีแสงน้อย
  • คุณสมบัติอื่นๆประกอบ เช่น มีวงจรชดเชยแสงอัตโนมัติ (Back Light Compensation) วงจรปรับชดเชยสีอัตโนมัติ (Auto White Balance) วงจรชดเชยสัญญาณควบคุมอัตโนมัติ(Auto Gain Control)
  • เลนส์จะมีหลายแบบเช่น Mono Focal Fixed iris จะไม่สามารถปรับมุมกว้าง-แคบ ของภาพและม่านแสงได้เหมาะสำหรับพื้นที่ๆไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงของแสง , แบบ Auto Iris จะใช้ในพื้นที่ๆแสงมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เป็นต้น
1.2 กล้องทรงโดมเหมาะสำหรับพื้นที่ๆ ต้องการไม่ให้เห็นตัวกล้อง หรือรู้สึกว่าไม่ได้ติดกล้อง และดูกลมกลืนกับเพดานหรือติดในลิฟท์ ห้องโถง หรือภายในอาคารทั่วๆไป
1.3 กล้องอินฟาเรด จะทำงานคล้ายกล้องวงจรปิดแบบปกติ เมื่อมีแสงสว่างเพียงพอ และจะเปิดแสงอินฟาเรดเพื่อช่วยให้มองเห็นได้ในที่มึดสนิดทันทีเมื่อแสงส่วางไม่เพียงพอ การ
2. ส่วนจัดการภาพ
2.1 เครื่องบันทึกสัญญาณภาพ (Recorder) ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องบันทึกสัญญาณภาพระบบดิจิตอล (Digital Video Recorder) เนื่องจากสะดวกและประหยัดมีคุณภาพในการบันทึกดีกว่าระบบเทป โดยปกติจะมีแบบ 4 , 8, 16 , 24 ช่อง ทั้งแบบ PC และ Non-PC แบบ PC การใช้งานผู้ใช้จะต้องมีความรู้เรื่องคอมพิเตอร์ค่อนข้างเยอะเพราะจะมีการใช้งานคล้ายๆกับคอมพิวเตอร์ หากผู้ใช้ไม่มีพื้นฐานคอมพิวเตอร์ก็จะมีปัญหาเยอะ ส่วนแบบ Non-PC จะเป็นเครื่องที่ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานได้ง่ายกว่าโดยหน้าตาและปุ่มกดคำสั่งต่างๆจะคล้ายๆกับเครื่องเล่น Video , VCD ,DVD ซึ่ง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ และปัญหาจะมีน้อยกว่าแบบPC มาก การพิจารณาคุณสมบัติของเครื่องมีดังนี้
  • การรองรับจำนวนกล้อง 4,8,16,24,32
  • ความสามารถในการทำงาน แบบ Simplex จะทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่งเช่นขณะที่บันทึกจะเล่นกลับภาพที่บันทึกขณะนั้นไม่ได้จะต้องหยุดบันทึกก่อน ส่ว แบบ Duplex และแบบ Triplex จะสามารถเล่นภาพกลับจากที่บันทึกไว้ได้ในขณะที่กำลังบันทึกอยู่
  • ความสามารถในการแสดงภาพ Real Time Display( fps) ค่ายิ่งมากยิ่งดี ปกติ 25fps ต่อกล้อง เช่นมี 4 กล้องเครื่องจะต้องได้ 100fps ถึงจะดี
  • ความสามารถในการบันทึกภาพ ( fps) ค่ายิ่งมากยิ่งดี
  • ความละเอียดของภาพ แสดงในรูป Pixel X Pixel ยิ่งมากยิ่งดี
  • รูปแบบของการบีบอัดภาพเช่น Wavelet, M-jpeg ,Mpeg-2,Mpeg4 ฯลฯ แสดงถึงขนาดของไฟล์ที่อัดยิ่งเล็กยิ่งบันทึกได้นาน แต่ทั้งนี้อาจทำให้คุณภาพของภาพลดลงได้ด้วย ดังนั้นข้อนี้ถือว่าผู้ใช้ต้องเลือกเอาความคมชัดหรือระยะเวลาของการบันทึก
  • ลูกเล่นคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ต่อ Network , มีระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว(Motion Detection) ,บันทึกเสียง , ส่งเมล์เตือน ฯลฯ
2.2 จอรับภาพ (Monitor) ปัจจุบันสามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการรองรับของเครื่องบันทึกภาพ
  • CCTV Monitor สำหรับการใช้งานที่ต้องการความละเอียดสูงอายุการใช้งานยาวนาน เปิดตลอด 24ชั่วโมง
  • Computer Monitor
  • TV ประหยัด สารพัดประโยชน์ แต่ไม่เหมาะสำหรับเปิดตลอด 24 ชั่วโมง อายุการใช้งานสั้น
3. สื่อนำสายสัญญาณภาพและแหล่งจ่ายไฟ ปกติระบบ CCTV จะต้องใช้สื่อสายสัญญาณเท่านั้น เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ระบบกล้องวงจปิดไร้สาย ที่ใช้คลื่นวิทยุ นั้นจะมีโอกาสถูกลักลอบดูดภาพ ได้ง่าย เนื่องจากคลื่นแพร่กระจายไปทั่ว และมีสัญญาณรบกวนสูง สายที่ใช้จะนิยมใช้ สาย RG59,RG6,RG11,UTP,Fiber Optic ฯลฯ ส่วนของแหล่งจ่ายไฟจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์นั้นๅ โดยปกติจะใช้ 12Vdc,24Vac และ 220Vac
4. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ในบางครั้งการใช้งานที่เป็นระบบใหญ่ๆหรือมีความต้องการที่แตกต่างจากปกติก็จะมีอุปกรณ์พิเศษอื่นๆเพิ่มเติม เช่นกล้องแบบหมุนส่ายซูม หรือต้องการควบคุมหรือดูภาพจากหลายๆแห่ง จะมีการออกแบบและเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกันไป


CCTV ย่อมาจาก Closed-circuit television แปลว่า โทรทัศน์วงจรปิด คือ มีการใช้กล้องวิดีโอ ส่งสัญญาณไปยังชุดจอภาพ ในสถานที่เฉพาะซึ่งอาจจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมอยู่ (Surveillance camera คือ กล้องเฝ้าระวัง)ซึ่งแตกต่างจากการ ออกอากาศโทรทัศน์ โดยที่สัญญาณจะไม่ถูกส่งออกไปตามที่สาธารณะ ภาพจะถูกส่งไปสถานที่เฉพาะเท่านั้น จะใช้สำหรับการ ตรวจสอบ ในพื้นที่ที่อาจต้องการตรวจสอบเช่น ธนาคาร,คาสิโน,ท่าอากาศยาน,ราชการทหาร,ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โทรทัศน์วงจรปิด อาจถูกใช้เพื่อสังเกตการจากหอบังคับการ หรือในสถานที่ที่ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด อาจทำงานอย่างต่อเนื่องหรือ ต้องทำเพื่อตรวจสอบเฉพาะเหตุการณ์ก็ได้ รูปแบบของ โทรทัศนท์วงจรปิดในปัจจุบันนิยมใช้ เครื่องบันทึกวีดีโอดิจิตอล (Digital Video Recorderหรือ DVR)แทนการบันทึกแบบม้วนวีดิโอ เนื่องจากมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงกว่า เช่น สามารถบันทึกต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตรวจสอบเคลื่อนไหวและแจ้งเตือนทางอีเมล เป็นต้น
       โทรทัศน์วงจรปิดได้ติดตั้งระบบครั้งแรกโดย เอจี  Siemens ที่ ทดสอบ V(2) ใน Peenemünde เยอรมนีใน 1942เพื่อสังเกตการณ์สำหรับการเปิดตัวของ V2-rockets(V2-rockets คือขีปนาวุธของเยอรมันนีตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ) วิศวกรเยอรมันชื่อ Walter Bruch คือรับผิดชอบในการออกแบบและการติดตั้งระบบ
และ ในเดือนกันยายน 1968, Olean นิวยอร์ก คือแรกเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อติดตั้งกล้องวิดีโอ ในถนนธุรกิจเพื่อป้องกันการก่อการร้าย ต่อมาการใช้ โทรทัศน์วงจรปิดในภายหลังได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นใน ธนาคาร, สถานที่ราชการ,ที่สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบริษัทห้างร้านต่างๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบโทรทัศน์วงจรปิด
1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV Camera)
2. เลนส์ (CCTV Lenses)
3. เครื่องเลือก / สลับภาพ (Video Switcher) และเครื่องผสม / รวมภาพ (Multiple Screen Displays)
4. จอภาพ (Video Monitor)
5. เครื่องบันทึกภาพ (Video Recorder)
6. อุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Related Accessories for more efficiency CCTV System)
7. ระบบการควบคุม (Control System)
8. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่นำเข้ามาใช้เกี่ยวข้องกับระบบโทรทัศน์วงจรปิด
ประโยชน์ และการใช้งานระบบโทรทัศน์วงจรปิด
1. การรักษาความปลอดภัย ของบุคคล และสถานที่
2. การตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ หรือการทำงานของพนักงาน
3. ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ เช่น ตรวจสอบจำนวนคนเพื่อการเปิด - ปิดเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
4. ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมการจราจร เช่น ตรวจสอบปริมาณรถยนต์ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล http://www.matcom.co.th/contents.php?id=300
ที่มาของภาพ http://www.it-dee.com/userfiles/images/DSC09136.jpg
ที่มาของภาพ http://www.coretech.co.th/images/forum/speed_dome.jpg
ที่มาของภาพ http://www.carecomonline.com/private_folder/cctv.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น